ขาย
บ้านแล้วโอนไม่ได้
สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านจัดสรรที่เป็นโครงการ หรือ อาคารชุด คอนโดมิเนียม อาจจะเคยได้ยิน หรือ เจอปัญหากับตัวเองบ้างในกรณีที่ต้องการจะขายบ้าน หรือ คอนโดของตัวเอง แล้วไม่สามารถทำธุรกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ได้และได้รับการบันทึกข้อมูลไว้ว่า ค้างชำระค่าส่วนกลาง ซึ่งจะโดยตั้งใจ หรือ ไม่ตั้งใจก็ดี ท่านอาจจะไม่ทราบ หรือ ละเลยในการร่วมชำระเงินบำรุงค่าสาธารณูปโภคส่วนกลางของ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และ อาคารชุดที่ท่านซื้อเพื่ออยู่อาศัยตั้งแต่เปิดโครงการนั้นได้มีมติจัดตั้งเป็นนิติบุคคลขึ้นมา โดยกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ระบุว่าเจ้าของร่วม (ผู้ซื้อบ้าน หรือ คอนโดทุกคน) จะต้องประชุมและตกลงอัตราค่าบำรุงสาธารณูปโภคและร่วมชำระทุกคน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา สาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งหากสมาชิกท่านใดไม่ร่วมมือ หรือ ปฎิเสธ ก็จะมีมาตรการระบุไว้ใน พรบ.หมู่บ้าจจัดสรร หรือ พรบ.อาคารชุด ถึงบทลงโทษต่างๆ ซึ่งบริษัทนิติบุคคลที่หมู่บ้าน หรือ อาคารชุดจ้างเข้ามาดูแลนั้นก็จะดำเนินการตาม พรบ.นี้ ซึ่งจะมีผลทำให้สมาชิกที่ไม่ชำระค่าส่วนกลางนี้ ต้องเจอ ซึ่งจะมีขั้นตอนกว่าจะไปถึงการระงับการทำธุรกรรมในโฉนดของทรัพย์สิน โดยนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจำดำเนินการตามขั้นของกฎหมายตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
โดน
กรมที่ดินอายัดโฉนด
ขั้นตอนที่ 1
– นิติบุคคลจะส่งหนังสือเตือนให้ชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค(ค้างติดต่อกัน 6เดือนขึ้นไป)แจ้งผู้ค้างชำระทราบล่วงหน้าอย่างน้อย
15 วัน (แจ้งรวมค่าปรับด้วยถ้ามี)ลงนามด้วยท่านประธานนิติบุคคลฯ ส่งหนังสือลงทะเบียนหนังสือตอบรับไปรษณีย์(เป็นหลักฐาน)
ขั้นตอนที่ 2
หากเกินระยะเวลาที่กำหนดแล้ว (เกิน 15 วันไม่มีการชำระฯ) ทางนิติบุคคลก็จะดำเนินการยื่นเรื่องเพื่ออายัดการทำนิติกรรมของบ้านหลังนั้นๆ ตามรายละเอียดดังนี้
1. หนังสือแจ้งระงับสิทธิและนิติกรรมที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาที่หมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตนั้นๆ
เรียน เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขา…….
ลงนาม ประธานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร…….
2. แนบสำเนาหนังสือทวงถาม (รับรองสำเนาถูกต้อง ประธาน..ลงนาม…..)
3. แนบสำเนาใบลงทะเบียนตอบรับ (ไปรษณีย์) ถ่ายหน้า-หลัง (รับรองสำเนาถูกต้อง ประธาน….)
4. ยื่นหนังสือที่สำนักงานที่ดิน ให้เจ้าหน้าที่รับ-ส่งหนังสือ ตีตราประทับรับสำเนา (เก็บสำเนาไว้เป็นหลักฐาน)
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินรับเรื่อง และบันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้วถือว่ามีผลตามกฎหมายทันที และ หากเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือ เจ้าของบ้าน เจ้าของโฉนดแปลงนั้นยังไม่ชำระเงินที่คงค้าง หรือ ยังเพิกเฉยต่อการแจ้งของนิติบุคคลต่อไป ก็จะมีขึ้นตอนที่สามารถทำได้ตามกฎหมายที่แรงขึ้นไปอีกตามลำดับ