ช่องว่างระหว่างทาวน์เฮ้าส์ จอดรถได้หรือไม่? มีข้อถกเถียงกันเป็นจำนวนมากเรื่อง ช่องว่างระหว่างทาวน์เฮ้าส์,ทาวน์โฮม,บ้านแผด ว่าช่องว่างระหว่างอาคารที่มีการเว้นระยะนั้นหมายถึงอะไร และมีวัตถุประสงค์อย่างไร และ ใครมีกรรมสิทธิ์ในการใช้งานได้บ้าง ทางทีมงานจะขอยกตัวกฎหมายที่ได้มีเขียนไว้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ดังนี้ครับ
หมวด 3
ที่ว่างภายนอกอาคาร
ข้อ 33 อาคารแต่ละหลังหรือหน่วยต้องมีที่ว่างตามที่กําหนดดังต่อไปนี้
(1) อาคารอยู่อาศัย และอาคารอยู่อาศัยรวม ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ชั้นใด
ชั้นหนึ่งที่มากที่สุดของอาคาร
(2) ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์โรงงาน อาคารสาธารณะ และอาคารอื่นซ่ึงไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 ใน 100 ส่วน ของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งที่มากที่สุดของอาคาร แต่ถ้าอาคารดังกล่าวใช้เป็นที่อยู่อาศัย
ด้วยต้องมีที่ว่างตาม (1)
ข้อ 34 ห้องแถวหรือตึกแถวซึ่งด้านหน้าไม่ติดริมถนนสาธารณะ ต้องมีที่ว่างด้านหน้าอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 6
เมตร โดยไม่ให้มีส่วนใดของอาคารยื่นล้ําเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว
ห้องแถวหรือตึกแถว ต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อใช้ติดต่อถึงกัน โดยไม่ให้มีส่วนใดของ
อาคารยื่นล้ําเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว เว้นแต่การสร้างบันไดหนีไฟภายนอกอาคารที่ยื่นล้ําไม่เกิน 1.40 เมตร
ระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวที่สร้างถึงสิบคูหา หรือมีความยาวรวมกันถึง 40 เมตร ต้องมีที่ว่าง
ระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวนั้นกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร เป็นช่องตลอดความลึกของห้องแถวหรือตึกแถว
เพื่อเชื่อมกับที่ว่างหลังอาคาร
ห้องแถวหรือตึกแถวที่สร้างติดต่อกันไม่ถึงสิบคูหา หรือมีความยาวรวมกันไม่ถึง 40 เมตร แต่มีที่ว่างระหว่างแถว
ด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวนั้นกว้างน้อยกว่า 4 เมตร ไม่ให้ถือว่าเป็นที่ว่างระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถว
แต่ให้ถือว่าห้องแถวหรือตกแถวน ึ ั้นสร้างต่อเนื่องเป็นแถวเดียวกัน
ที่ว่างตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม จะก่อสร้างอาคาร รั้ว กําแพง หรือสิ่งก่อสร้างอื่นใด หรือจัดให้เป็น
บ่อน้ํา สระว่ายน้ํา ที่พักมูลฝอย หรือที่พักรวมมูลฝอยไม่ได้
ห้องแถวหรือตึกแถวที่มีด้านข้างใกล้เขตที่ดินของผู้อื่น ต้องมีที่ว่างระหว่างด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถวกับเขต
ที่ดินของผู้อื่นนั้นกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร เว้นแต่ห้องแถวหรือตึกแถวที่ก่อสร้างขึ้นทดแทนอาคารเดิมโดยมีพื้นที่ไม่มากกว่า
พื้นที่ของอาคารเดิมและมีความสูงไม่เกิน 15 เมตร
ข้อ 35 ห้องแถวหรือตึกแถวที่มีที่ว่างหลังอาคารตามข้อ 34 วรรคสอง และได้ร่นแนวอาคารตามข้อ 41 แล้ว ไม่
ต้องมีที่ว่างตามข้อ 33(1) และ (2) อีก
ข้อ 36 บ้านแถวต้องมีที่ว่างด้านหน้าระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร
และต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคารระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร
ระหว่างแถวด้านข้างของบ้านแถวที่สร้างถึงสิบคูหา หรือมีความยาวรวมกันถึง 40 เมตร ต้องมีที่ว่างระหว่างแถว
ด้านข้างของบ้านแถวนั้นกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร เป็นช่องตลอดความลึกของบ้านแถว
บ้านแถวที่สร้างติดต่อกันไม่ถึงสิบคูหา หรือมีความยาวรวมกันไม่ถึง 40 เมตร แต่มีที่ว่างระหว่างแถวด้านข้างของ
บ้านแถวนั้นกว้างน้อยกว่า 4 เมตร ไม่ให้ถือว่าเป็นที่ว่างระหว่างแถวด้านข้างของบ้านแถว แต่ให้ถือว่าบ้านแถวนั้นสร้าง
ต่อเนื่องเป็นแถวเดียวกัน
ข้อ 37 บ้านแฝดต้องมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนังอาคารกว้างไม่น้อย
กว่า 3 เมตรและ 2 เมตรตามลําดับ และมีที่ว่างด้านข้างกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร
จะเห็นได้ว่ากฎหมายได้ระบุไว้ชัดเจน ว่าช่องว่างระหว่างอาคารนั้นได้กำหนดไว้ชัดเจนในสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท
ซึ่งการเว้นระยะนี้มีวัตถุประสงค์หลักต่อไปนี้ครับ
1. เพื่อความปลอดภัยด้านอัคคีภัย
การเว้นระยะอาคารตามข้อกำหนดตามกฎหมายนั้นมีความสำคัญมากเมื่อเกิดอัคคีภัย เพราะระยะที่เว้นจากถนนจะช่วยให้ขับรถดับเพลิงเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวกยิ่งขึ้น และยังทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถดับเพลิงได้จากรอบด้าน และยังลดโอกาสที่ไฟจะลุกลามไปยังอาคารที่อยู่ใกล้เคียง โดยเฉพาะการวางผังตึกแถวซึ่งอยู่ติดกัน
2. เพื่อการก่อสร้างและซ่อมแซมอาคาร
เมื่อการวางผังตึกแถว ระยะเว้นอาคารมีเพียงพอ การก่อสร้าง ซ่อมแซม หรือต่อเดิมอาคารก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการวางนั่งร้าน ติดตั้งรางระบายน้ำ การฉาบปูน หรือทาสีบ้าน
3. เพื่อใช้เป็นกรณีการกับรถ หรือ หลบหลีกสำหรับยวดยาน พาหนะ ที่มีการสรรจรภายในหมู่บ้านด้วย
จริงๆแล้วพื้นที่เว้นระยะอาคารนั้นถือเป็นทรัพย์สินส่วนรวม ที่สามารถใช้ในกิจการของส่วนเพื่อประโยชน์โดยรวมของหมู่บ้าน หรือ ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกทุกคนที่เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง
อ่านบทความเพิ่มเติม